ปัญหาใหญ่ระดับโลกระหว่างรัสเซีย –ยูเครน ทำให้มีผลกระทบต่อภาพของน้ำมัน ด้วยรัสเซียเป็นทั้งผู้ส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติติดอันดับ3 ของโลก มีผลต่อราคาน้ำมันโดยตรงว่าจะปรับตัวแตะระดับ 100 บาร์เรล/ดอลลาร์ แต่อีกด้านกระทบไปถึงหุ้นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ตามมาด้วย
สถานการณ์ดังกล่าวมีความตรึงเครียสหลังประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ กล่าวว่ามีสัญญาณว่ารัสเซียกำลังวางแผนใกล้จะบุกยูเครน ทางด้านรัสเซียอ้างว่าผู้นำสหรัฐฯ กระตุ้นความขัดแย้ง และเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องด้านความมั่นคงของรัสเซีย
รวมไปถึงความเป็นไปได้ที่สหรัฐจะดำเนินมาตรการทางการคกับรัสเซีย ซึ่งรวมไปถึงการห้ามขายสินค้าไฮเทคที่มีชิ้นส่วนหรือซอฟต์แวร์ที่ผลิตในสหรัฐ เป็นส่วนประกอบ ให้แก่รัสเซียเหมือนที่ได้ดำเนินการมาแล้วกับในช่วง เทควอร์ กับจีน
ด้วยการสั่งห้ามบริษัทต่าง ๆ ขายชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์และชิปคอมพิวเตอร์ให้กับบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ หัวเหว่ย (Huawei) ของจีนเมื่อปี ค.ศ. 2020 ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อธุรกิจของหัวเหว่ย และทำให้ยอดขายสมาร์ทโฟนของหัวเหว่ยตกลงมาอยู่ที่อันดับ 10 ของโลกแล้วในขณะนี้
โดยมีโอกาสที่ภายใต้กฎหมายนี้ สินค้าเทคโนโลยีทุกอย่างที่ใช้ชิปคอมพิวเตอร์ก็จะได้รับผลกระทบจากมาตรการลงโทษนี้ด้วย ซึ่งปัจจุบันยูเครนถือว่าเป็นประเทศที่มีการเข้าไปลงทุนด้านชิ้นส่วนเทคโนโลยีชั้นนำของโลกจากสหรัฐจำนวนไม่น้อย
ย่อมส่งผลลบต่อภาพของหุ้นชิ้นส่วนฯในไทยตามไปด้วย ประกอบไปด้วยบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA ,บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ KCE ,บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) หรือ HANA ,บริษัท เอสวีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ SVI และบริษัท แฮลเซี่ยน เทคโนโลยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ HTECH
สะท้อนจากราคาหุ้นปรับตัวลดลงอย่างหนัก และมีการปรับราคาเป้าหมายลดลงตามแนวโน้มผลกระทบที่เกิดขึ้นและค่าเงินบาทที่อ่อนค่า อย่างไรก็ตามหุ้นในกลุ่มชิ้นส่วนฯ มีปัจจัยเฉพาะที่ทำให้ราคาหุ้นได้ผลกระทบไม่เท่ากัน
โดยภาพรวม บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคทีบีเอสที คาดว่าผลกระทบเชิงลบต่อธุรกิจชิ้นส่วนฯ จากความกังวลว่าสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซียจะเกิด supply chain disruption ในกลุ่มผู้ผลิตชิ้้นส่วนฯ เนื่องจากทั้งยูเครนและรัสเซียเป็น supplier วัตถุดิบในการผลิต ตามข้อมูลจาก Techcet research พบว่า กว่า 90% ของ semiconductor-grade neon gas ที่ใช้ ในสหรัฐนำเข้าจากยูเครน และ 35% ของแร่ palladium ที่ใช้ในสหรัฐนำเข้าจากรัสเซีย
โดยวัตถุดิบทั้ง 2 อย่างเป็นส่วนสำคัญในการใช้ผลิต chip สถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อราคาหุ้นกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วน electronic ในไทยสอดคล้องกับตลาดอเมริกาแบ่งเป็น 2 สาเหตุ
1.supply chain disruption จะส่งผลให้ปัญหา chip shortage ยืดเยื้อออกไป
2.หากเกิดสงครามจะ ส่งผลให้ราคาน้ำมัน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อเงินเฟ้อ และ การตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐเกี่ยวกับมาตรการดอกเบี้ยในช่วงมีนาคมนี้
วิกฤติยูเครนกระทบถึงกลุ่มชิ้นส่วนฯ พาหุ้นร่วงหรือรอด
ทั้ง 2 ประเด็นจะยังเป็นปัจจัยกดดันราคาหุ้นต่อไป แนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุนหุ้นกลุ่ม ชิ้นส่วนฯ ในช่วงนี้ไปก่อน โดยคาดว่าหุ้นที่จะได้รับผลกระทบมากสุด (เรียงจาก มากไปน้อย) คือ HANA (ซื้อ/เป้า 105.00 บาท) ,DELTA (NR) ,KCE (ซื้อ/เป้า 80.00 บาท) , HTECH (ซื้อ/เป้า 9.50 บาท)
อย่างไรก้ตามหุ้นที่กลับทำราคาบวกสวนทางกับภาพรวมได้ SVI ราคาหุ้น มาปิดที่ราคา (21 ก.พ.65) 9.30 บาท และทำราคานิวไฮที่ 11.70 บาท ตั้งแต่ต้นปีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นมาแล้ว 19 % ซึ่งราคาหุ้นที่ปรับตัวมาต่อเนื่องมาจากภาพการทำกำไรที่ไม่สะดุด
จากไตรมาส 4 ปี 2564 ที่ 572 ล้านบาท จากไตรมาส 3 ที่ 521 ล้านบาท และไตรมาสเดียวกันปีก่อนที่ 102 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 5 เท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบกับอัตรากำไรต่อราคาหุ้น (PE) น้อยที่สุดในกลุ่ม ซึ่ง SVI อยู่ในกลุ่มสินค้าเซมิคอนดัคเตอร์โดยตรง เช่นวงจรไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์
ช่วงที่ผ่านมาากกลุ่มลูกค้าใหม่ and contribution from new customers และประกาศเน้นจัดการวัตถุดิบด้านซัพพลายเชน หลังซื้อกิจการ โทโฮกุ ไพโอเนียร์ (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการผลิตอุปกรณ์สำหรับชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ จะทำให้มีความมั่นคงด้านวัตถุดิบและบริหารจัดการต้นทุนการผลิตได้ดี บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ (ประเทศไทย) แนะนำซื้อและปรับราคาพื้นฐานใหม่เพิ่มเป็น 11.00 บาท จากเดิมที่8.90 บาท ซึ่งประเมินด้วย P/E ปี 65 ที่ 18.7x ราคาปิดมีส่วนเพิ่มได้อีก 18%
อ้างอิง
https://www.bangkokbiznews.com/business